ภูกระดึงดินแดนมหัศจรรย์
ภูมิศาสตร์
ภูมิประเทศ ภูมิศาสตร์ ทำไมภูกระดึงจึงเป็นภูเขายอดตัด ป่าปิด แผนที่
puu06.jpg
สนในลมหนาว
puu05.jpg
ลานหินแตก กลางภูกระดึง
puu04.jpg
เกือบจะถึงยอดภูช่วงสุดท้าย เราจะเห็นภาพนี้เบื้องล่าง
ทำไมภูกระดึงจึงเป็นภูเขายอดตัด
ลักษณะของภูกระดึงนั้นเป็นผลที่เกิดจากปรากฎ
การณ์ การเคลื่อนตัวของเปลือกโลก ที่เกิดการหักตัว
(Fault) และการโก่งตัว (Fold) ประกอบกับได้รับ
อิทธิพลของการกัดเซาะ การพัดพา และการทับถม
ที่เกิดจากธรรมชาติ เป็นเวลานาน
ภูเขาหลายลูกในบริเวณเดียวกันนี้ คล้ายกัน คือ ภูหอ ภูเขียว ภูเวียง ภูผาจิต ภูหลวง และภูเรือ ทั้งหมดเป็น
ภูเขายอดตัดแบราบ

ภูกระดึง เป็นภูเขาที่เกิดจากหินชั้นต่างๆ ที่ตกตะกอน และการสะสมตัวเอง ของโคลนตม เป็นเวลายาวนาน
ถึง 180 ล้านปี (ยุค Jurassic) ชั้นหินของภูกระดึง แบ่งออกเป็น 3 ชั้น คือ

ชั้นบน หินทรายชุดภูพาน
ชั้นสอง หินทรายชุดเขาพระวิหาร
ชั้นสาม หินทรายสีขาวของชั้นหินภูกระดึงเอง

ส่วนใต้ชั้นหินทรายลงไป ก็เป็นชั้นหินปูน ดังนั้นภูกระดึงจึงเป็นภูเขาหินทราย หากนักท่องเที่ยวเดินไป
ตามเส้นทางท่องเที่ยวทั่วไปจะสังเกต เห็นทรายสีขาวตามทางเดิน สลับกับพื้นที่บางบริเวณ จะเกิดเป็นลาน
หินกว้างซึ่งเกิดจากการพัดพาของน้ำ และการยึดติดรวมตัวกันของหินที่ต้องอาศัยระยะเวลาอันยาวนาน
กว่าที่จะเชื่อมประสานกันจนเกิดเป็นลานหินกว้างใหญ่ได้

ในบางบริเวณตามพื้นลำธารจะเป็นพื้นดินดาน และหินทราย เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งมีความอ่อนตัว เมื่อเวลา
ผ่านไป และเกิดการขัดสีโดยก้อนหินก้อนกรวด นานๆ เข้าจึงเกิดเป็นหลุมขนาดใหญ่มากมาย เรียกว่า
"กุมภลักษณ์" หรือ หลุมรูปหม้อ (Pot hole)

พื้นที่ราบบนยอดภูกระดึงลาดเทในแนวทิศตะวันออก มายังทิศตะวันตก ทำให้เกิดลำธารสายต่าง บน
ภูกระดึง ไหลลงไปรวมกันทางทิศตะวันตกทั้งสิ้น และชาวพื้นราบได้อาศัยสายน้ำ เหล่านี้ หล่อเลี้ยงชีวิต
มาเนิ่นนาน...

ภูมิศาสตร์ป่าปิด